เปรียบเทียบระหว่างการจ้างผลิตทั่วไป (OEM) VS เป็นเจ้าของเครื่องฟรีซดรายด้วยตัวเอง
การจ้างผลิตทั่วไป (OEM) | ลงทุนในเครื่อง freeze Dry ของเรา | |
เงินลงทุน | ลงทุนน้อย | จุดคืนทุนของเครื่อง 3-6 เดือน หากผู้ประกอบการมีแผนที่จะใช้งานเครื่องเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3-6 เดือน การลงทุนซื้อเครื่องเป็นการตัดสินใจที่คุ้มค่ากว่าการจ้างผลิต เพราะหลังจากผ่านจุดคืนทุนต้นทุนการผลิตจะต่ำกว่าการจ้างผลิตมาก (ดูข้อต้นทุนการผลิต) ทำให้มีความได้เปรียบในการแข่งขันระยะยาว |
การขนส่งเพื่อผลิต | เสียค่าใช้จ่ายในการขนส่งวัตถุดิบ และสินค้าที่ผลิตเสร็จแล้ว | ไม่มีค่าใช้จ่าย |
ความยืดหยุ่น | ต้องมีการวางแผนการผลิตและจองเวลาล่วงหน้า | กำหนดตารางเวลาในการผลิตได้ด้วยตัวเอง |
ต้นทุนการผลิต | ประมาณ 300 บาท/kg | ประมาณ 9 บาท/kg หลังจากผ่านจุดคุ้มทุนที่ 3-6 เดือนแล้ว |
พื้นที่ | ไม่ต้องมีพื้นที่ | ใช้พื้นที่เริ่มต้น 0.6 ตร.ม. |
กำลังคน | ไม่อาศัยกำลังคน | อาศัยคนเริ่มต้น 1 คน ในการใส่วัตถุดิบ และเปิด – ปิดการทำงานเครื่อง |
คุณภาพผลิตภัณฑ์ | อาศัยความชำนาญในผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ของผู้รับจ้างผลิต | ระบบ smart sensor system ทำให้การใช้งานง่าย และมีตัวเครื่องจะปรับการทำงานให้เหมาะสมกับแต่ละผลิตภัณฑ์ |
การปนเปื้อน | หากมีการใช้งานเครื่องร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อาจเกิดการปนเปื้อนของกลิ่น รสชาติ | สามารถแยกผลิตเฉพาะสินค้าที่ต้องการทำให้คุณภาพผลิตภัณฑ์ตรงตามความต้องการ และรองรับข้อกำหนดของมาตรฐานการผลิตสากล |
เปรียบเทียบ การลงทุนในเครื่องฟรีซดรายขนาดใหญ่(อุโมงค์)VS การลงทุนในเครื่อง Freeze Dry ระบบของเรา
จุดเริ่มต้นความคิดของเราคือ จะทำอย่างไรให้การแปรรูปอาหารด้วยฟรีซดราย สามารถเข้าถึงได้ง่ายกับผู้ประกอบการทุกขนาด ทั้งผู้เริ่มต้นธุรกิจ (Start up) จนถึงโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ซึ่งต่างก็มีความต้องการบางอย่างที่ตรงกันคือ ต้นทุนการผลิตที่ต่ำที่สุด ควบคู่กับความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการ จึงเป็นที่มาของระบบการลงทุน แบบ “Modular system” ของเรา
Modular system คือ การลงทุนเครื่องฟรีซดรายโดยแบ่งเป็นหน่วยย่อย (Unit) โดยที่ต้นทุนของการลงทุนเป็น unit ย่อย ๆ แล้วค่อย ๆ เพิ่มจำนวน unit ตามความต้องการนั้น มีต้นทุนค่าเครื่องจักรในการไม่ต่างกัน หรือในหลายกรณีอาจมีต้นทุนค่าเครื่องจักรต่อกำลังการผลิตต่ำกว่าการลงเครื่องใหญ่ครั้งเดียว ตั้งแต่เริ่มต้น
Concept นี้มีการพิสูจน์และใช้งานมาแล้วในอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ server เก็บข้อมูล ซึ่งในอดีต บริษัทใหญ่ๆต่างลงทุนซื้อเครื่อง server ขนาดใหญ่เพื่อใช้เก็บข้อมูลภายในของธุรกิจ แต่ปัจจุบันเนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้ server สามารถถูกผลิตขึ้นมาเป็นหน่วยย่อย (unit) ในต้นทุนที่ต่ำลงมาก ทำให้องค์กรต่างปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การลงทุนมาใช้งาน server ในลักษณะของ unit ย่อย ๆโดยเพิ่มจำนวน unit ตามปริมาณข้อมูลที่องค์กรต้องการใช้งาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการลงทุนและที่สำคัญคือการบริหารความเสี่ยง นี่จึงเป็นหนึ่งในตัวอย่างของการลงทุนสมัยใหม่ที่เรียกว่า Modular system
การลงทุนในเครื่องฟรีซดรายของเราก็เช่นเดียวกัน เนื่องจากลูกค้าที่ใช้งานเครื่องของเรามีทั้งลูกค้าโรงงานอุตสาหกรรมและลูกค้า SME ทุกท่านสามารถบริหารการผลิตเครื่องได้อย่างยืดหยุ่น ลงทุนได้อย่างคุ้มค่าที่สุด และมีความพร้อมที่จะขยายกำลังการผลิตสำหรับโอกาสทางการค้าที่เข้ามาได้ตลอดเวลา ภายใต้ความเสี่ยงที่ต่ำ เนื่องจากไม่จำเป็นต้องทุ่มเงินก้อนลงไปกับเครื่องจักรที่มีราคาสูงโดยที่ยังไม่มีออเดอร์ของลูกค้าที่เข้ามา หรือเมื่อมีออเดอร์เข้ามาเกินกำลังการผลิตเดิมแล้วไม่ต้องกังวลว่าการเพิ่มสายการผลิตต้องใช้เงินลงทุนมากหรือจะต้องใช้ระยะเวลานานในการติดตั้งระบบจนอาจพลาดโอกาสไป
เครื่องฟรีซดรายขนาดใหญ่ | เครื่อง Freeze Dry ของเรา | ||
1 | เงินลงทุน | ใช้เงินลงทุนก้อนใหญ่ | สามารถทยอยลงทุนเริ่มต้นที่ประมาณ 2 แสนกว่าบาท โดยการค่อย ๆ เพิ่มจำนวนเครื่องที่ใช้งาน ตามปริมาณลูกค้า โดยที่ต้นทุนค่าเครื่องจักร/กำลังการผลิตไม่ต่างจากการลงทุนซื้อเครื่องใหญ่ (400kg) |
2 | กำลังการผลิต | มาก | น้อย-มาก ขึ้นอยู่กับปริมาณเครื่อง |
3 | ประเภทผลิตภัณฑ์ที่ผลิต | ครั้งละ 1 อย่าง | ผลิตสินค้าได้หลากหลายโดยไม่ปนเปื้อน เนื่องจากมีการกระจายการใช้งานเครื่อง |
4 | ต้นทุนการผลิต | ต่ำ (หากใช้งานเต็มกำลังการผลิต) | ต่ำ |
5 | การใช้ไฟ | 3 เฟสเท่านั้น | 1 เฟส หรือ 3 เฟส |
6 | ความยืดหยุ่น | ผลิตได้รอบละ 1 ประเภทสินค้า | ผลิตได้รอบละหลายประเภทสินค้า ขึ้นอยู่กับปริมาณเครื่อง |
7 | การบริหารความเสี่ยง | ความเสี่ยงสูง เนื่องจากหากเครื่องจักรมีปัญหาสายการผลิตต้องหยุดลง 100% | ความเสี่ยงต่ำ เนื่องจากหากเครื่องจักรมีปัญหา สายการผลิตสามารถเดินต่อได้อย่างปกติ โดยที่ยังมีเครื่องที่เหลือทำงาน |
8 | การบริหารจัดการ การผลิต | ต้องมีการวางแผนการผลิตที่รัดกุมเนื่องจากต้องผลิตสินค้าแต่ละประเภทเป็นจำนวนมากต่อครั้ง | ต้องมีการวางแผนการผลิตได้อย่างยืดหยุ่น เนื่องจากในการผลิตแต่ละครั้งสามารถเลือก |
9 | ประสิทธิภาพการใช้งานเครื่อง | มักจะมีกำลังการผลิตเหลือ (Excess capacity)ในระดับสูง โดยเฉพาะช่วงเริ่มต้นขยายตลาด | กำลังการผลิตเหลือ (Excess capacity) อยู่ในระดับต่ำมาก แม้จะเป็นช่วงเริ่มต้นขยายตลาด ทำให้บริหารต้นทุนทางการเงินที่ใช้ในการลงทุนได้ดี |
10 | อุปกรณ์เสริม | ต้องติดตั้งรอกอุตสาหกรรม หรือ เครื่องแช่เยือกแข็ง (ในกรณีที่เครื่องไม่มีระบบทำความเย็น) | ไม่จำเป็น |
11 | การบำรุงรักษา | ค่าใช้จ่ายสูง และต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ | ค่าใช้จ่ายต่ำ ผู้ใช้งานเครื่องสามารถจัดการได้ด้วยตนเอง และมีการอัพเดต firmware (version การใช้งานเครื่อง) ตลอดอายุการใช้งาน |
12 | การรายงานปัญหาการใช้งานเครื่อง | ต้องติดต่อและรอผู้เชี่ยวชาญเข้าตรวจเช็ค | มีระบบการดูแลที่ทันท่วงที ผู้ใช้งานเครื่องสามารถdownloadข้อมูลผ่าน port usb และส่ง email มาให้ทางเราเพื่อตรวจสอบความผิดปกติได้เลยทันทีที่การใช้งานเครื่องมีปัญหา |
13 | การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ | ต้นทุนสูง เพราะต้องเปิดการใช้งานเครื่องเต็มระบบ ใช้วัตถุดิบมาก และใช้เวลาในการทดสอบหาค่าการตั้งค่าเครื่องให้เหมาะสมกับแต่ละผลิตภัณฑ์ | ต้นทุนต่ำ เพราะต้องเปิดการใช้งานเพียงเครื่องเดียว ใช้วัตถุดิบน้อยและไม่ใช้เวลาในการทดสอบหาค่าการตั้งค่าเครื่องให้เหมาะสมกับแต่ละผลิตภัณฑ์เนื่องจากมีระบบ smart sensor |